Get Adobe Flash player

บริการตรวจสอบอาคารตามกฎหมายตรวจสอบอาคาร

             ตามที่ได้มีการประกาศใช้กฎหมายการตรวจ สภาพความปลอดภัยอาคาร ซึ่งมีผลบังคับให้อาคารที่เข้าข่ายที่ต้องถูกตรวจสอบตามกฎกระทรวงฉบับที่ 59 (พ.ศ.2548) ต้องมีการตรวจสอบสภาพความปลอดภัยของอาคารเป็น ประจำทุก ๆ ปี โดยเจ้าของอาคารมีหน้าที่จัดให้มีการตรวจสอบอาคารด้าน ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร และอุปกรณ์ประกอบอาคาร เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ระบบลิฟท์ ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบระบายน้า โดยผู้ตรวจสอบอาคารที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบจากกรมโยธาธิการและผังเมือง

สถานะของงานบริการ หยุดรับงานบริการตรวจสอบอาคารชั่วคราว

สำหรับประเภทอาคารที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบมี 9 ประเภท ได้แก่

  • 1. โรงงานสูงมากกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
  • 2. อาคารสูง 23 เมตรขึ้นไป
  • 3. อาคารขนาดใหญ่พิเศษที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
  • 4. อาคารชุมชนคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือจานวนคน ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป
  • 5. โรงมหรสพ
  • 6. โรงแรมที่มีจานวนห้องตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
  • 7. สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตร ขึ้นไป
  • 8. อาคารชุด หรืออาคารที่อยู่อาศัยรวมพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
  • 9. ป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรหรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตร ขึ้นไป หรือป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาดาดฟ้าที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตร ขึ้นไป

ประเภทของการตรวจสอบอาคาร

  • การตรวจสอบใหญ่ กระทำทุก 5 ปี กำหนดให้การตรวจสอบครั้งแรก เป็นการตรวจสอบใหญ่ และกระทำทุก 5 ปี
  • การตรวจสอบประจำปี ซึ่งเจ้าของอาคารต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารโดยผู้ตรวจสอบอาคารเป็นประจำทุกปี 

หน้าที่รับผิดชอบ ในการตรวจสอบอาคาร แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

  1. หน้าที่ของผู้ตรวจสอบอาคาร
  2. หน้าที่ของเจ้าของอาคาร หรือ ผู้จัดการ นิติบุคคล
  3. หน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น

หน้าที่ของ ผู้ตรวจสอบอาคาร

  • ทำการตรวจสอบสภาพอาคาร และ อุปกรณ์ประกอบ ตามแผนบริหารจัดการ ของผู้ตรวจสอบ
  • จัดทำรายงานผลการตรวจสอบสภาพอาคาร และ อุปกรณ์ประกอบ ให้แก่เจ้าของอาคาร
  • หากพบว่ามีบางรายการ ไม่ผ่านเกณฑ์ ให้จัดทำข้อ เสนอแนะ และแนวทางการปรับปรุงแก้ไข แก่เจ้า ของอาคาร


หน้าที่ของเจ้าของอาคาร หรือ ผู้จัดการนิติบุคคล

  •  จัดหา หรือ จัดทำแบบแปลนการตรวจสอบอาคาร และอุปกรณ์ ประกอบอาคารทุกรายการที่ต้องตรวจสอบ
  • เสนอรายงานผลการตรวจสอบ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกปี โดยเสนอภายใน 30 วัน ก่อนใบรับรองการตรวจสอบฉบับเดิมครบกำหนด
  • ให้แสดงใบรับรองการตรวจสอบอาคารติดไว้ในที่เปิดเผยที่เห็นได้ง่าย
  • จัดให้มีการตรวจและทดสอบระบบโดยละเอียดตามแผนที่กำหนด
  • จัดให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจบำรุงรักษาตามช่วงเวลาที่กำหนด
  • จัดให้มีการทดสอบสมรรถนะระบบความปลอดภัย การซ้อมหนีไฟ การบริหารจัดการความปลอดภัย และ อบรมพนักงาน

หน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น

  • เมื่อได้รับรายงานแล้ว ให้แจ้งเจ้าของอาคารทราบถึง ผลการพิจารณา ใน 30 วัน นับแต่วันได้รับรายงาน ผลการตรวจสอบ

ตรวจสอบอะไรบ้ำง ?

  • 1. ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร
  • 2. ตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ ( ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย , ระบบบริการ และอานวยความสะดวก ได้แก่ ลิฟต์ บันไดเลื่อน ฯลฯ , ระบบสุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ระบบน้าดี ระบบน้าเสีย การกาจัดขยะมูลฝอย ฯลฯ )
  • 3. ตรวจสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร